Sunday 24 December 2006

โรคมะเร็งสามารถป้องกันได้

การแพทย์แผนไทย ทางออกในการรักษาโรคมะเร็ง
มะเร็งเป็นปัญหาที่ทั่วโลกกำลังแสวงหาทางเลือกในการดูแลรักษา เป็นสาเหตุการตายอันดับ ๓ รองจากโรคหัวใจและอุบัติเหตุ นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องรีบแก้ไข มีงานวิจัยมากมายที่แสดงว่าร้อยละ ๙0 ของมะเร็งสามารถป้องกันและรักษาได้

ขอสรุปที่ว่า ร่างกายคนเรามีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่เราเอาชนะและไม่ป่วย เป็นมะเร็งเพราะ ร่างกายมีความต้านทานที่แข็งแกร่งด้วยระบบภูมิคุ้มกันที่สามารถต่อสู้ได้ ดั้งนั้นระบบภูมิคุ้มกันที่ถูกทำลายด้วยวิธีต่างๆล้วนเป็นสาเหตุ สำคัญที่ก่อมะเร็ง ได้แก่ การกินอาหาร ที่ไม่ครบถ้วนไม่สะอาดและเต็มไปด้วยสารพิษ สารก่อมะเร็ง การไม่ออกกำลังกาย การอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

ฉะนั้นถ้ามีพฤติกรรมสุขภาพโดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหาร ก็จะช่วยป้องกันโรคนี้ได้บ้าง เช่น รับประทานอาหารที่มีเส้นใย (Fiber) มาก และมีข้อสรุป สำหรับเลือกบริโภคอาหารโดยหลัก ๔ ล. คือ
๑. ลด อาหารไขมันจากสัตว์
๒. เลิก อาหารกระป๋อง อาหารที่มีสีสังเคราะห์และสารเคมี เช่น สารกันบูดเจือปน สีที่ไม่ใช่สีผสมอาหาร
๓. เลี่ยงอาหารปิ้ง ย่าง อบ รมควัน
๔. ลุ้น อาหารสด ผัก ผลไม้ อาหารสมุนไพร ที่ปลอดสารพิษ

ทางเลือกในการรักษาโรคมะเร็ง
การรักษาโรคมะเร็งควรควรใช้หลายวิธีร่วมกันทั้งแผนปัจจุบันและแผนไทย รวมทั้งคำนึงถึงสภาพจิตใจของผู้ป่วยและญาติด้วย เมื่อทราบแน่ชัดจากการตรวจของแพทย์แผนปัจจุบัน ว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งแล้ว ไม่ควรปิดกั้นการรักษาของผู้ป่วย หากจะเลือกแผนปัจจุบันร่วมกับแผนไทย แต่วิธีที่จะเป็นประโยชน์สูงสุดกับผู้ป่วย คือ เมื่อตรวจร่างกายแน่ชัดว่าเป็นมะเร็งแล้ว ควรรักษากับแพทย์แผนปัจจุบันก่อน เพราะการเป็นมะเร็งระยะแรกๆ รักษาหายขาดได้ ส่วนการจะเลือกรักษาโดยแผนไทยนั้นไม่ควรตัดสินใจเลือกอย่างใดอย่งหนึ่ง ควรรักษาควบคู่กันกับแผนปัจจุบัน และควรให้แพทย์แผนปัจจุบันตรวจรักษาอย่างสม่ำเสมอ การใช้สมุนไพรและการใช้ทางเลือกอื่นนั้น จะเป็นการประคับประคองด้านภูมิต้านทานและด้านจิตใจ เช่นการใช้สมาธิ เป็นต้น

1....การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การพักผ่อนเพียงพอ จะทำให้มีสุขภาพแข็งแรง เป็นการป้องกันโรคได้ทางหนึ่ง

2....การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
การดูแลคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งมีความสำคัญยิ่ง เพราะภาวะทางกาย จิตใจ และอารมณ์ของผู้ป่วยจะถูกกระทบกระเทือนมาก ภาวะทุกข์ทรมาน ได้แก่ อาการเจ็บปวด อาการกระสับกระส่าย กลืนอาหารลำบาก คลื่นไส้อาเจียนซึมเศร้า นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร เป็นต้น
องค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทยสามารถนำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ตั้งแต่การเลือกรับประทานอาหารตามธาตุ การใช้ยาสมุนไพร บำบัดอาการข้างต้น ตลอดจนการนวดแผนไทยและการทำสมาธิ เพื่อบำบัดอาการปวด ซึมเศร้า นอนไม่หลับ เป็นต้น หลักการดังกล่าวถ่ายทอดให้ผู้ป่วยนำไปประพฤติปฏิบัติที่บ้านได้

สมุนไพรต้านมะเร็ง
ผู้ป่วยโรคมะเร็งควรรับประทานผักผลไม้ให้ได้เพราะผักผลไม้หลายชนิดจะมีคุณสมบัติเป็นตัวกำจัดอนุมูลอิสระ (แอนตี้ออกซิแดนท์) และสารที่ฆ่าเซลล์มะเร็งได้ ในวันหนึ่งๆ ควรได้ผัก ๒๕–๓0% ผลไม้ ๑0% เนื้อปลาหรือถั่ว ๑0% อีก ๕0% ควรเป็นข้าวกล้อง หรือเผือกมัน ผักและผลไม้ ควรปรุงรูปแบบธรรมดา เช่น ต้ม ลวก แกงหรือรับประทานดิบ ไม่ควรเติมน้ำตาล น้ำผึ้ง เกินความจำเป็น เพราะจะทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไป

รายชื่อ ผัก ผลไม้ ที่ควรบริโภคมีดังนี้
สมุนไพรที่มีสารต้านเซลล์มะเร็ง ได้แก่ มะกรูด ผักแขยง ขึ้นฉ่าย บัวบก ผักชีฝรั่ง กระชาย ข่าใหญ่ มันเทศ ใบมะม่วง มะกอก เบญจมาศ แขนงกะหล่ำ แตงกวา พริกไทย ดีปลี โหระพา กะเพรา ใบตะไคร้ ถั่ว ผักแว่น ผักขวง เพกา ช้าพลู ลูกผักชี เร่ว เหงือกปลาหมอ ขมิ้นอ้อย หัวหอมแดง หอมหัวใหญ่ กระเทียม ฯลฯ

สมุนไพรที่มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ (วิตามิน เอ ซี อี)
วิตามินเอสูง ได้แก่ ใบยอ ใบย่านาง ตำลึง ผักกูด มะระ กระสัง ผักแพว ผักชีลาว ผักแว่น ผักบุ้ง เหลียง กระเจี๊ยบแดง แมงลัก ชะอม พริกชี้ฟ้าแดง แพงพวย ขี้เหล็ก ฯลฯ
วิตามินซีสูง ได้แก่ มะขามป้อม ฝรั่ง มะปราง ขนุน ละมุด มะละกอ มะกอก ส้ม มะขาม ลูกหว้า พุทรา ฯลฯ
วิตามินอีสูง ได้แก่ พวกธัญพืชต่างๆ เช่นงาดำ ข้าวซ้อมมือ จมูกข้าว ข้าวโพด ฯลฯ
เบ้ต้าแคโรทีนสูง ได้แก่ แครอท ฟักทอง แค กะเพรา แพชั่นฟรุต ขี้เหล็ก ผักเชียงดา ยอดฟักข้าว ผักแซ่ว ฯลฯ

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาของถาบันวิจัยมะเร็งของสหรัฐอเมริกา พบว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทานกานกระเทียมเลย มีโอกาสเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหารมากกว่าผู้ที่รับประทานปริมาณมากกว่าผู้ที่รับประทานในปริมาณมากอยู่เสมอถึง ๑,000 เท่า เนื่องจากในกระเทียมมีสารสำคัญที่จะไปยับยั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปเป็นสารก่อมะเร็งของไนเตรต ซึ่งคนได้รับจากอาหารและผักบางชนิด

ภาวะผิดปกติของธาตุในร่างกาย
จากการที่นักวิชาการค้นพบว่า ตัวการที่ทำให้ร่างกายมนุษย์ทรุดโทรม แก่ และความต้านทานบกพร่อง เกิดโรคต่างๆ รวมทั้งมะเร็ง ล้วนแต่เกิดจากการประพฤติปฏิบัติของมนุษย์เอง ที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระมากขึ้น เกิดกระบวนการออกซิเดชั่นในร่างกายจนเสื่อมในที่สุด
คนไทยแต่โบราณมิได้รู้รายละเอียดปฎิกริยาภายในเหล่านี้ เขารู้เพียงว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และนำสมุนไพรมาปรุงแต่งรับประทานในรูปอาหารและยาแล้วอาการดีขึ้น ลองผิดลองถูก จนสรุปเป็นทฤษฎีการปรับธาตุทั้ง ๔ คือธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ โดยนำสมุนไพร ๙ ชนิด ได้แก่ ดีปลี ช้าพลู สะค้าน เจตมูลเพลิงแดง ขิง พริกไทย สมอไทย สมอพิเภก และมะขามป้อม มาปรุงเป็นยาปรับธาตุทั้ง ๔ ใช้รักษา เมื่อธาตุนั้นๆ มีอาการพิการ (ผิดปกติ) กำเริบ (มากเกินไป) หย่อน (น้อยไปหรือไม่สมบูรณ์) และยาปรับธาตุตามฤดูกาล ตัวอย่างเช่น

ดินพิการ หมายถึง สภาพผิดปกติของอวัยวะที่แสดงออก เช่น ผิวหนังมีผื่น ตุ่ม เน่า เปื่อย เป็นแผล อวัยวะภายใน เช่น ตับเป็นฝี อักเสบ
น้ำกำเริบ คือ การมีน้ำมากเกินไป น้ำมูกไหลทั้งวัน ท้องเดิน บวม ความดันโลหิตขึ้นสูง มีน้ำในกระแสเลือดมาก
ไฟหย่อน คือ ภาวะที่ความร้อนในตัวน้อย รู้สึกเยือกเย็น หนาวสั่น ถ้าไฟย่อยอาหาร น้อยไป ก็จะท้องอืดเฟ้อ อาหารไม่ย่อย
ลมหย่อน คือ ภาวะพลังแห่งการเคลื่อนไหวน้อยไป

ตัวอย่าง ยาแก้ธาตุไฟหย่อนมี ส่วนชองตัวยาดังนี้
รากเจตมูลเพลิง หนัก ๑๖ ส่วน
เหง้าขิงแห้ง หนัก ๘ ส่วน
ลูกเสมอพิเภก หนัก ๔ ส่วน
เถาสะค้าน หนัก ๓ ส่วน
รากช้าพลู หนัก ๒ ส่วน
ดอกดีปลี หนัก ๑ ส่วน

สำหรับยาปรับธาตุตามฤดูกาล มีดังนี้
๑. ตรีผลา ได้แก่ ลูกเสมอพิเภก ลูกเสมอไทย ลูกมะขามป้อม ยาประจำฤดูร้อน สมุนไพร ๓ ชนิดนี้มีวิตามินสูงมากและปลอดภัยและมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์
๒. ตรีกฏุก ได้แก่ เหง้าขิงแห้ง เมล็ดพริกไทย ดอกดีปลี ยาประจำฤดูฝน สมุนไพร ๓ ชนิดนี้ปลอดภัยเช่นกัน และแต่ละชนิดเป็นพืชผักสวนครัวอยู่แล้ว
๓. ตรีสาร ได้แก่ รากเจตมูลเพลิง เถาสะค้าน รากช้าพลู ยาประจำฤดูหนาว ช้าพลูมีฤทธิ์เป็นแอนตี้ออกซิเดชั่น ส่วนสะค้านและเจตมูลเพลิงแดงเป็นยารสร้อน เมื่อนำ ๓ ชนิดมารวมกันก็ไม่เป็นอันตราย เจตมูลเพลิงแดงยังมีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งด้วย

ยาเบญจกูล
ดอกดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิงแดง เหง้าขิงแห้ง ในยาเบญจกูล มีช้าพลู ขิง เป็นแอนตี้ออกซิแดนท์ คือ ตัวยับยั้งการเกิดออกซิเดชั่นในร่างกาย เจตมูลเพลิงแดงมีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็ง
จะเห็นได้ว่า ทั้งยาเบญจกูล ตรีผลา ตรีกฏุก ตรีสารเป็นยาที่จัดหมวดไว้สำหรับหมอแผนโบราณ ใช้ประกอบกระสายยาอื่นๆ มีสูตรยาเป็นจำนวนมาก จะมียาเหล่านี้ประกอบด้วยเสมอ ยาเหล่านี้สามารถใช้ได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยเรื้อรังที่สิ้นหวัง เช่น มะเร็งระยะท้ายๆ
หากท่านผู้สนใดสนใจควรปรึกษาหมอโบราณ หรือสถาบันการแพทย์แผนไทยในการจัดเตรียมยาเหล่านี้ให้ถูกขนาด ถูกวิธี
สรุปแล้วการใช้ยาสมุนไพรทั้ง ๙ ชนิดนี้ล้วนมีคุณประโยชน์ในการป้องกันการเกิดและการขยายตัวของมะเร็ง และยังฆ่าเซลล์ได้บางชนิด สมควรที่จะได้นำไปวิจัยเพิ่มเติมต่อไป

สมุนไพรไทยและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่แสดงฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง
พืชสมุนไพร
บวบขม จำปีป่า ปลาไหลเผือก ทองพันชั่ง เจตมูลเพลิงแดง ราชดัด ฝาง แสมสาร ติงตัง ขมิ้นต้น ฟ้าทะลายโจร กระเทียม ประยงค์ รงทอง ข่อย ขมิ้นชัน แกแล สมอไทย ขันทองพยาบาท เครือเถาวัลย์ ดองดึง โล่ติ้น เจตมูลเพลิงขาว มังคุด โทงเทง ทับทิม จำปา ไพล ปรู จำปีหลวง พลับพลึง สบู่ดำ แพงพวยฝรั่ง สีเสียด กะเม็ง สมอพิเภก

ที่มา: ชุมนุมแพทย์แผนไทยและสมุนไพรแห่งชาติ, http://www.thaipun.com/

No comments: